#คําแนะนําด้านโลจิสติกส์

คําแนะนําด้านศุลกากรสําหรับผู้ส่งของไปต่างประเทศครั้งแรก

Marcelo Godoy Rigobello
Marcelo Godoy Rigobello
VP Global Customer Support - Customs & Trade Compliance, DHL Express
5 min read
facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share

หากคุณเป็นมือใหม่ที่พึ่งเริ่มจัดส่งไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก บทความนี้เพื่อคุณ! ทำอย่างไรให้ของที่ส่งผ่านศุลกากร หลีกเลี่ยงความล่าช้าต่างๆ  วิธีการเตรียมตัวมีอะไรบ้าง? อ่านได้ในบทความนี้เลย

พิธีศุลกากรเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพื่อการขนส่งนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ล่าช้า ผู้ส่งสินค้า (Shipper) สำคัญมากในขั้นตอนนี้ และหนึ่งในสิ่งที่ DHL ทำก็คือการช่วยซัพพอร์ตลูกค้าที่มีปัญหาด้านศุลกากร เรามีข้อมูลมากมาย รวมถึงปัญหาที่เหล่านักส่งของไปต่างประเทศมือใหม่มักเจอและวิธีแก้ปัญหาเมื่อเจอสถานการณ์ดังกล่าว

 

2 ประเด็นที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษเมื่อส่งของไปต่างประเทศครั้งแรก

อากรศุลกากรและภาษี (Customs Duties and Taxes)

คำเดียวที่ใช้สรุปประเด็นแรกสั้นๆ "ค่าใช้จ่าย" ผู้ส่งครั้งแรกบางรายไม่ทราบว่าจะต้องจ่ายอากรศุลกากรนําเข้าและภาษีให้กับหน่วยงานของรัฐ และมักคิดว่าเมื่อจ่ายเงินให้กับบริษัทขนส่งแล้วถือว่าจบทั้งหมดแล้ว แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเหล่านี้กําหนดโดยหน่วยงานรัฐบาลของประเทศที่คุณจัดส่งไป และไม่เกี่ยวกับบริษัทขนส่งหรือผู้ให้บริการจัดส่งของคุณ 

MyGTS (My Global Trade Service) ตัวช่วยเรื่องการส่งของไปต่างประเทศ ที่รวมไปถึงการคำนวน Landed Cost (ต้นทุนแฝง) ที่จะทำให้คุณสามารถประเมินค่าใช้จ่ายแบบเบ็ดเสร็จได้ล่วงหน้า ตั้งแต่ค่าขนส่งไปยังประเทศปลายทาง, ค่าธรรมเนียมการขนส่ง, ค่าใช้จ่ายศุลกากร อากรและภาษี ให้คุณทราบก่อนการจัดส่งจริง

ข้อมูลและเอกสาร

ความท้าทายประเด็นที่สองคือจํานวนข้อมูลและเอกสารที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรต้องการ อาจดูน่ากลัวสําหรับผู้ที่ส่งเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะผู้ที่ส่งไปยังประเทศที่มีระบบราชการที่ซับซ้อน นอกจากนี้เอกสารที่จำเป็นยังแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น สิ่งทอและเครื่องสําอางอาจต้องใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรองโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรนําเข้า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องตรวจเช็กว่าข้อมูลและเอกสารใดที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่จัดส่ง เงื่อนไขของประเทศต้นทางและปลายทาง

การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ (ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID) ทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรหันมาลดขั้นตอนที่ใช้กระดาษ รวมถึงขั้นตอนทางราชการที่หยุมหยิมเกินไป เพื่อก้าวเข้ายุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้กระบวนการมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้กระดาษ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากที่ผู้ส่งจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนเมื่อจัดส่งสินค้า และให้ความสำคัญกับข้อมูลในใบกํากับสินค้าพาณิชย์ (Commercial Invoice)

จะเกิดอะไรขึ้นหากให้ข้อมูลหรือเอกสารที่ไม่ถูกต้อง

หากคุณในฐานะผู้ส่งไม่ได้ให้ข้อมูลและเอกสารที่ถูกต้องทั้งหมด หรือให้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องในใบกํากับสินค้าพาณิชย์ (Commercial Invoices) หรือใบตราส่งสินค้า (Waybills) สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในแง่ดีที่สุดคือให้ผู้ให้บริการจัดส่งของคุณสังเกตเห็นข้อมูลที่ขาดหายไปและหยุดการจัดส่งชั่วคราวเพื่อแจ้งเตือนคุณ ซึ่งแค่นี้ก็ทําให้การจัดส่งของคุณล่าช้าแล้ว

แต่หากผู้ให้บริการจัดส่งไม่สังเกตุข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์และจัดการชิปเมนต์ตามปกติ ชิปเมนต์ของคุณอาจถูกระงับไว้อยู่ดีโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจนกว่าจะมีข้อมูลและเอกสารที่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งคุณอาจถูกเรียกเก็บเงินสําหรับการจัดเก็บชิปเมนต์ที่ถูกระงับจนกว่ากระบวนการทางศุลกากรจะเสร็จสมบูรณ์ และไม่ว่าจะด้วยวิธีใดผู้รับหรือลูกค้าปลายทางของคุณจะประสบกับความล่าช้าในการรับสินค้า อาจเจอค่าจัดส่งเพิ่มเติมและรู้สึกผิดหวังทั้งกับคุณและบริษัทขนส่ง และนั่นคือสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ!

ข้อมูลที่สําคัญที่สุดคือข้อมูลพื้นฐานที่สุด

สิ่งสําคัญคือการให้ข้อมูลผู้จัดส่งและผู้นําเข้า (เช่น ลูกค้า/ ผู้รับของคุณ) ที่ถูกต้องและครบถ้วนในใบกํากับสินค้าพาณิชย์ (Commercial Invoices) ข้อมูลพื้นฐานของผู้นําเข้านั้นสำคัญมาก เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และอีเมล เพราะหากมีการระงับในประเทศปลายทาง บริษัทขนส่ง (หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากร) ต้องสามารถติดต่อผู้นําเข้าได้ หากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงผู้นําเข้าได้ พิธีการศุลกากรนําเข้าของสินค้าอาจล่าช้าหรืออาจถูกส่งคืนให้คุณ

เขียนคำอธิบายสินค้า (Goods Description) ให้ครบถ้วนและเหมาะสม

คําอธิบายที่ถูกต้องในใบแจ้งหนี้การค้า (Commercial Invoice) ของสินค้าที่คุณจัดส่ง หรือง่ายๆว่า คำอธิบายสินค้า ถือเป็นข้อมูลที่สําคัญมากเพื่อให้กระบวนการพิธีการศุลกากรนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะนี่เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรใช้เพื่อดูว่าการจัดส่งของคุณมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือไม่ โดยจะอิงจากข้อมูลการจัดส่ง นอกจากนี้แล้วคําอธิบายสินค้ายังเป็นตัวกําหนดองค์ประกอบสําคัญอื่น ๆ เช่นรหัสระบบฮาร์โมไนซ์ (HS Code) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอากรศุลกากรนําเข้าและภาษีที่ต้องชําระ

คําอธิบายสินค้าใน Commercial Invoice ต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนและถูกต้อง ควรระบุว่าสินค้าคืออะไร ใช้สินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ใด และทําจากอะไร ตัวอย่างเช่น แทนที่จะเป็น "เครื่องแต่งกาย" ให้เขียนว่า "เสื้อยืดผู้หญิงที่ทําจากผ้าฝ้าย 100%" คุณสามารถดูตัวอย่างของคําอธิบายสินค้าที่ดีและไม่ดีได้ในคู่มือศุลกากร

HS Code และวิธีหา HS Code ที่เหมาะสม

นอกจากคําอธิบายสินค้าที่สมบูรณ์และถูกต้องแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญสําหรับผู้จัดส่งคือการระบุ HS Code ที่เกี่ยวข้องใน Commercial Invoice รหัส HS Code เป็นตัวกําหนดอากรศุลกากรขาเข้าที่คุณต้องจ่ายและกำหนดข้อจำกัดของการนำเข้า (อะไรนำเข้าได้ อะไรต้องการใบอนุญาต)  ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าที่คุณจัดส่ง

รหัสระบบฮาร์โมไนซ์ (HS Code) เป็นมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ประเทศผู้นําเข้าแต่ละประเทศมีตารางอัตราอากรของตัวเองของ HS Code แต่ละรหัส 

ที่ DHL Express เราได้พัฒนาเครื่องมือที่ลูกค้าของเราสามารถใช้เพื่อค้นหา HS Code ที่เหมาะสมกับสินค้าที่จัดส่ง เรียกว่า MyGTS (My Global Trade System) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MyGTS ที่นี่

นอกจากนี้เรายังมีบริการที่ช่วยให้คุณ (ผู้ส่ง) ชําระอากรศุลกากรขาเข้า และอากรในนามของผู้นําเข้า (ผู้รับ) ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเลือกชําระค่าใช้จ่ายทั้งหมดล่วงหน้าขณะทำการจัดส่ง (ในนามของลูกค้า/ผู้รับสินค้าของคุณ) DHL จะชําระอากรศุลกากรนําเข้าและภาษีให้ก่อน และค่อยเรียกเก็บจากคุณ (พร้อมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร หากมี) บริการนี้เรียกว่าบริการเรียกเก็บเงินภาษีอากรของดีเอชแอล DHL Duty Tax Paid (DTP) Billing Service โปรดติดต่อพนักงานฝ่ายขาย DHL Express  ของคุณหรือ 02-345-5000 เพื่อสอบถามเพิ่มเติม

ไม่มีใครที่สนุกไปกับเรื่องการชําระอากรและภาษี แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเผลอไปใช้ HS Code ที่ไม่ถูกต้อง เพื่อหวังอากรที่ถูกกว่า หากถูกจับได้ คุณต้องจ่ายอัตราอากรและภาษีที่ถูกต้องอีกครั้ง และอาจถูกปรับโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือที่แย่กว่านั้นคืออาจได้รับบทลงโทษ

สำแดงมูลค่าการจัดส่งให้ถูกต้อง

อีกวิธีหนึ่งที่ผู้ส่งบางรายใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอากรและภาษีคือการประเมินมูลค่าการจัดส่งให้ต่ำกว่าความจริง เราขอแนะนําอย่างยิ่งสำแดงมูลค่าให้ถูกต้อง ไม่ต่ำหรือสูงกว่าความจริง

คุณจำเป็นต้องโปร่งใส 100% ด้วยการสำแดงมูลค่าแท้จริงของสินค้าที่คุณขายและระบุใน Commercial Invoice  รวมไปถึงการสำแดงค่าขนส่งและการประกันภัยด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ Incoterm ที่ใช้ด้วย

หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรสงสัยว่าสินค้าของคุณมีมูลค่าต่ำเกินไป ผู้รับจะได้รับการติดต่อและขอให้ส่งสําเนาหลักฐานการชําระเงินหรือใบเสร็จรับเงินของสินค้าที่ซื้อ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเปรียบเทียบกับมูลค่าที่สำแดงในใบกํากับสินค้าพาณิชย์ (Commercial Invoice)

ผลของการประเมินมูลที่ค่าต่ำเกินไปและได้รับการยืนยันเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว นอกจากการเรียกเก็บภาษีศุลกากรนําเข้าที่ถูกต้องแล้ว (ตามมูลค่าที่แท้จริงของสินค้า) คุณยังอาจโดนค่าปรับ และการจัดส่งก่อนหน้านี้อาจถูกตรวจสอบใหม่อีกครั้งด้วย

พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวตน

เจ้าหน้าที่ศุลกากรต้องการวิธีการระบุตัวตนที่หลากหลาย ไม่ว่าจากผู้ส่งหรือผู้รับ หรือทั้งคู่ เช่น เจ้าหน้าที่สามารถขอหมายเลขใบขับขี่ หมายเลขหนังสือเดินทาง หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับ เจ้าหน้าที่บางคนถึงกับกําหนดให้ผู้รับติดตั้งแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เพื่อยืนยันตัวตน

เมื่อคุณต้องส่งของหาผู้รับในต่างประเทศ เราขอแนะนําให้คุณ (ผู้ส่ง) ขอบัตรประจําตัวของผู้นําเข้า(ผู้รับ ณ ประเทศปลายทาง) ไว้ล่วงหน้า และใช้ข้อมูลดังกล่าวเมื่อเตรียมจัดส่ง (หากจําเป็นสําหรับประเทศที่นําเข้า) การทำแบบนี้ทำให้การนำเข้าเร็วขึ้น และลดเวลาที่บริษัทขนส่งต้องติดต่อผู้รับเพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวให้กับศุลกากรของประเทศที่นำสินค้าเข้า

เจ้าหน้าที่กําลังกวดขันและจับกุมผู้นําเข้าแบบผิดกฎหมาย สุดท้ายนี้มีโอกาสสูงมากที่จะผิดกฏหมายหากใครพยายามจัดส่งหรือรับบางสิ่งโดยใช้ข้อมูลระบุตัวตนที่เป็นข้อมูลปลอม 

คุณอาจถูกขอให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากคุณขายสินค้าออนไลน์ คุณอาจถูกขอให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศของผู้ซื้อ และสำแดง VAT ของประเทศนั้นในใบกํากับสินค้าพาณิชย์ (Commercial Invoice) พร้อมกับหมายเลข VAT  และเมื่อมีการเดินพิธีศุลกากรคุณจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้า (VAT นำเข้า) ซึ่งยอดนี้สามารถหักภายหลังได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือการนำภาษีมูลค่าเพิ่มนําเข้าทางศุลกากร (Import Customs VAT) สามารถชําระได้ในรูปแบบ 'Vendor Collection Model' ที่ผู้ขายจะคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ล่วงหน้า เมื่อขายสินค้าได้ จะชําระให้กับเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่รวมชำระให้ ไม่ใช่เชิงธุรกรรม รูปแบบการชำระแบบนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก เช่น ในออสเตรเลียและในสหภาพยุโรป เป็นต้น

ตัวอย่าง: เมื่อขายทางออนไลน์ไปยังสหภาพยุโรป (EU) คุณสามารถเลือกใช้บริการ DHL’s Duty Tax Paid (DTP) Billing Service ซึ่งดีเอชแอลจะชําระภาษีมูลค่าเพิ่มศุลกากรนําเข้าให้กับเจ้าหน้าที่ เมื่อนําเข้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว DHL จะทำการเรียกเก็บเงินจากคุณ หรือคุณสามารถลงทะเบียนกับระบบ Import One Stop Shop (IOSS) ของสหภาพยุโรป ซึ่งผู้ขายออนไลน์จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะที่ซื้อ (และผู้ขายออนไลน์จะชําระเงินให้หน่วยงานด้านภาษี ในสหภาพยุโรปผ่านการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนจากส่วนกลาง)

เรามีเครื่องมือที่ช่วยคุณได้ MyGTS

การส่งของข้ามพรมแดนเป็นเรื่องยุ่งยาก ไหนจะเอกสารและข้อกำหนดมากมายในแต่ละประเทศ เราขอนำเสนอ MyGTS เครื่องมือฟรีจาก DHL Express ที่จะช่วยให้การส่งของข้ามพรมแดนเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเดิม ให้คุณวางแผน จัดการ และเตรียมพร้อมก่อนเริ่มส่งของไปต่างประเทศ

คุณสามารถค้นหา HS Code สำหรับสินค้าได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ประเมินค่าใช้จ่ายแฝง (Landed cost) สำหรับการจัดส่งของคุณ และรับคำแนะนำด้านกฏระเบียบและข้อกำหนดของแต่ละประเทศปลายทางก่อนนำเข้าจริง ง่ายๆก็คือ MyGTS มีทุกอย่างที่คุณต้องการ

MyGTS จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปต่างประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง ลงทะเบียนเลย

เคล็ดลับสําหรับการส่งของไปต่างประเทศครั้งแรก

ศึกษา ค้นคว้า ศึกษา ค้นคว้า!

ศึกษาต้นทุนการนําเข้าที่เกี่ยวข้องกับอากรและภาษี ค้นคว้าข้อมูลและเอกสารที่จําเป็นสําหรับประเภทสินค้าของคุณ ศึกษาข้อจํากัดการนําเข้าสินค้านั้นไปยังประเทศปลายทางต่างๆ

การศึกษาเตรียมไว้ล่วงหน้า นอกจากจะช่วยลดปัญหาจุกจิกในอนาคต เช่น การขอข้อมูลเพิ่ม ปัญหาความล่าช้า ยังมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าปลายทางของคุณอีกด้วย 

คุณภาพข้อมูลใน Commercial Invoice

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ระบุข้อมูลอย่างครบถ้วนและถูกต้องใน Commercial Invoice  ขณะจัดส่งเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ข้อมูลที่ควรให้ความสำคัญได้แก่: 

  • ข้อมูลผู้ส่ง / ผู้ส่งออกและผู้รับ / ผู้นําเข้า:  ระบุชื่อเต็ม ที่อยู่เต็ม (ถนน เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์) และรายละเอียดการติดต่อ (หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล)

  • หมายเลขประจําตัวประชาชน: หากมีโปรดระบุหมายเลขประจําตัวของผู้จัดส่ง / ผู้รับ เช่น หมายเลข VAT / GST หมายเลข EORI เป็นต้น

  • คําอธิบายสินค้า: ระบุคําอธิบายสินค้ารายตัว (โดยใช้ภาษาธรรมดาที่มีรายละเอียด ถูกต้อง ครบถ้วน)

  • รหัส HS Code และประเทศต้นทาง: รหัส HS Code ของสินค้ารายตัว (ควรเป็นรหัสพิกัดอัตราภาษีนําเข้า) และประเทศต้นทาง (โดยทั่วไปคือประเทศที่ผลิตสินค้า)

  • มูลค่าและสกุลเงิน: มูลค่าสินค้ารายตัว และรายละเอียดเพิ่มเติมของต้นทุนที่เกี่ยวข้อง (เช่น ประกันภัย ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ) กับสกุลเงินที่ธุรกรรมเกิดขึ้น

  • น้ําหนัก/หน่วยและ จำนวน: ระบุน้ําหนักรวม/สุทธิ หน่วย (เช่น KG) และจำนวน (เช่น 2 รายการ) สำหรับสินค้ารายตัว

  • INCOTERMS® และ Place:  ระบุ INCOTERMS® และ Place ภายใต้ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง

  • หลักฐานแสดงแหล่งกําเนิดสินค้า: หากมี ให้แสดงหลักฐานแสดงแหล่งกําเนิดสินค้าในใบแจ้งหนี้ (Invoice) ไปด้วย เพื่อให้มีสิทธิ์ได้รับอัตราอากรศุลกากรพิเศษ (หรืออาจเรียกว่า 'Statement on Origin', 'Country of Origin Statement' )

  • เหตุผลในการส่งออก: โปรดระบุเหตุผลในการส่งออก เช่น ซ่อมแซมและส่งกลับ, ส่งเป็นของขวัญ

  • ข้อกําหนดอื่นๆ : สำคัญมากว่าคุณจะต้องตรวจสอบว่ามีข้อกําหนดอะไรบ้างที่มีผลบังคับใช้กับสินค้าของคุณ เช่น ใบอนุญาตส่งออก / นําเข้า ข้อกําหนดอื่นๆ ของรัฐบาล เช่น กฎหมายสัตวแพทย์และสุขอนามัยพืช เป็นต้น

 

การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องไว้ล่วงหน้า (ทำเตรียมไว้ตั้งแต่เริ่มทำชิปเมนต์) จะช่วยหลีกเลี่ยงความล่าช้าได้

และเมื่อคุณส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาสั่งซื้อจากคุณอีกครั้ง (และต่อๆไป)

DHL Express ในฐานะบริษัทระดับสากลที่มีการดําเนินงานในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก เราสามารถช่วยให้คุณมีประสบการณ์การจัดส่งข้ามพรมแดนที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมช่วยขจัดความซับซ้อนด้านพิธีศุลกากร!

สําหรับข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับศุลกากรทั่วโลก ดาวน์โหลดคู่มือของเราได้ที่นี่