#คําแนะนําเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ

ปั๊มยอดขายจากตลาด USA พร้อมเคล็ดลับส่งของจากไทยไปอเมริกากับ DHL Express

facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักช้อปออนไลน์จำนวนมหาศาลที่เชี่ยวชาญการใช้อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่อเมริกาจะเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ของธุรกิจที่ใฝ่ฝันอยากขยายตลาดสู่ต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศมหาอำนาจด้านอีคอมเมิร์ซโลกนี้มีโอกาสมากมายรอผู้ขายต่างชาติอยู่ ขอแค่คุณเข้าใจพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ของผู้บริโภคและกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่ซับซ้อนของอเมริกา ลองอ่านบทความต่อไปนี้ที่ DHL Express นำมาฝาก เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณจะโลดแล่นอย่างราบรื่นสู่ตลาดอเมริกา!

มีคนกว่า 330 ล้านคน อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ถ้าคิดว่าประเทศนี้คือต้นกำเนิดของยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซโลกอย่าง Amazon แล้ว อาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่พบว่าคนที่นี่ชื่นชอบการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นพิเศษ

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอัตราสูงทำให้ประเทศนี้มีรายได้จากอีคอมเมิร์ซมากถึง 768 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ​ ในปี 2564 หรือคิดเป็น 13% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด

และข่าวดีสำหรับธุรกิจจากต่างประเทศก็คือ ผู้บริโภคชาวอเมริกันเพลิดเพลินกับการค้นหาและซื้อสินค้าจากแบรนด์ต่างชาติ ผู้บริโภคกว่าครึ่งกล่าวว่าตนเองเคยซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ต่างประเทศ

แต่กระนั้นก็ยังมีความท้าทายสำหรับธุรกิจจากเอเชียแปซิฟิกที่อยากขยายตลาดสู่อเมริกา ตัวอย่างเช่น การแข่งขันที่รุนแรงจากแบรนด์ในประเทศเดียวกัน และกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่ซับซ้อนซึ่งต้องทำความเข้าใจ

ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้ และคำแนะนำสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศที่ต้องการก้าวสู่ตลาดแห่งโอกาส! 

ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมในหมู่นักช้อปออนไลน์ข้ามพรมแดนชาวสหรัฐฯ​ ในปี 2564

  • เสื้อผ้า/ เครื่องนุ่งห่ม: 28%
  • ของเล่น/ งานอดิเรก: 15%
  • ความบันเทิง/ การศึกษา (สิ่งของที่จับต้องได้): 12%

ทำไมนักช้อปอเมริกันจึงเลือกซื้อแบรนด์จากต่างประเทศ

การเข้าใจว่าทำไมชาวอเมริกันจึงซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศ คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณกำหนดตำแหน่งทางการตลาดและกลยุทธ์การขายได้

เหตุผลสำคัญที่ทำให้นักช้อปออนไลน์ในอเมริกาซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ได้แก่

ราคาถูกกว่า

เมื่อต้นปีนี้ เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาพุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี เมื่อค่าครองชีพเพิ่ม ชาวอเมริกันก็เริ่มมองหาสินค้าราคาถูกและส่วนลดออนไลน์ จงตั้งราคาสินค้าของคุณอย่างระมัดระวัง และศึกษาจุดราคาต่างๆ ของคู่แข่ง ถ้าคุณเสนอสินค้าที่เหมือนกันได้ในราคาถูกกว่า คุณก็ชนะในการขาย

การขายยกโหลเป็นเทคนิคหนึ่งซึ่งใช้ได้ผลในสหรัฐอเมริกา เพราะลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าเงิน และเนื่องจากราคาค่าผลิตในเอเชียแปซิฟิกถูกกว่าในสหรัฐฯ​ คุณจึงอาจได้ประโยชน์จากผู้ค้าส่งชาวอเมริกันที่ต้องการซื้อสินค้าปริมาณมากไปขายต่อ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการต่อรองราคาด้วยล่ะ

ต้องการสินค้าที่พิเศษหรือไม่เหมือนใคร

ตลาดอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แต่ถ้าคุณกำลังขายสินค้าที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ​ ไม่สามารถซื้อหาจากผู้ขายในประเทศได้ นั่นคือประตูสู่โอกาสของคุณ แต่คุณต้องแน่ใจว่าลูกค้าจะหาคุณเจอ ในอเมริกา Amazon กำลังตีตื้น Google ในแง่การค้นหา ที่จริงแล้ว 44% ของผู้บริโภคชาวอเมริกันเริ่มต้นเส้นทางการตัดสินใจซื้อจาก Amazon ดังนั้น การมีตัวตนบนแพลตฟอร์มออนไลน์จึงเป็นวิธีที่ดีที่จะมั่นใจได้ว่าแบรนด์ของคุณถูกมองเห็นโดยคนกลุ่มใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เราต้องพูดถึงหัวข้อถัดไป…

Amazon คือราชา

การครอบครองภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกาของ Amazon.com นั้นไร้ผู้ต่อต้าน เพราะนักช้อปออนไลน์จำนวนมหาศาลถึง 90% เคยซื้อหาสินค้าจากเว็บไซต์แห่งนี้

เป็นโชคดีสำหรับธุรกิจจากเอเชียแปซิฟิกที่เว็บไซต์ Amazon มีโปรแกรม Fulfilment (FBA)  ซึ่งอนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติสามารถลงทะเบียนขายสินค้าบนแพลตฟอร์มนี้ได้ ซึ่งรวมถึงธุรกิจจากจีน อินเดีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย เมื่อลงทะเบียนแล้ว ผู้ขายสามารถส่งสินค้ามาจัดเก็บที่คลังสินค้าของ Amazon โดยมีพนักงานของ Amazon เป็นผู้หยิบ แพ็ค และส่งสินค้าเหล่านั้นในนามของ Amazon ให้ แน่นอนว่าบริการนี้มีค่าธรรมเนียม แต่สำหรับธุรกิจระหว่างประเทศที่แสวงหาลู่ทางสู่ตลาดอเมริกาและต้องการเข้าถึงลูกค้าที่นั่น นี่คือที่ที่เหมาะเหม็งสำหรับการเริ่มต้น

ขนาดใครว่าไม่สำคัญ

ขนาดประชากรของสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างอุปสงค์ขนาดใหญ่ให้กับธุรกิจที่เคยค้าขายกับตลาดขนาดเล็กกว่าได้ ในรายงานเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ระบุถึงคำแนะนำของเจพีมอร์แกนว่า “ผู้ขาย (ที่ขายสินค้าให้สหรัฐอเมริกา) ควรแน่ใจว่าตนเองสามารถหาสินค้าในปริมาณมากเป็น 10 เท่า ของที่มีขายอยู่เดิมได้ เพื่อรับประกันไม่ให้ลูกค้าผิดหวัง”

แม้จะเป็นเพียงประเทศเดียว แต่อเมริกานั้นกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมรัฐต่างๆ 50 รัฐ และโซนเวลาที่แตกต่างกันถึง 6 โซน และรัฐต่างๆ ก็มีความหลากหลายทั้งในด้านไลฟ์สไตล์และระดับรายได้ของครัวเรือนโดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างด้านนิสัยการช้อปของแต่ละกลุ่มอายุอีก ทั้งนี้ มิลเลนเนียลเป็นกลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซของสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของนักช้อปออนไลน์ทั้งหมด (ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2563)

โดยสรุป ถ้าคุณวางแผนจะขายของในสหรัฐอเมริกา คุณควรศึกษาและแบ่งเซกเมนต์ผู้ชมที่จะเห็นสินค้าของคุณอย่างรอบคอบ เพื่อหาลักษณะประชากรของลูกค้าที่เหมาะกับธุรกิจของคุณที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณขายอุปกรณ์เล่นเซิร์ฟ แน่นอนว่าการซื้อโฆษณาที่พุ่งเป้าไปยังคนที่อาศัยอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียน่าจะได้ ROI มากกว่าโฆษณาที่ส่งหาลูกค้าที่อยู่ในรัฐตอนกลาง และนี่เป็นแค่ตัวอย่างกว้างๆ เท่านั้น

ฟีเจอร์สำคัญบนเว็บไซต์

ถ้าคุณขายสินค้าให้ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณเอง จงแน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ไม่อย่างนั้นคุณอาจเสี่ยงกับการโดนทิ้งตะกร้าสินค้าในนาทีสุดท้าย ผลสำรวจโดย S&P Global Market Intelligence พบว่าฟีเจอร์บนร้านค้าออนไลน์ที่สำคัญที่สุดสำหรับนักช้อปสหรัฐฯ ​ได้แก่

  • ฟีเจอร์ค้นหาและนำทาง (61%) แถบค้นหาของคุณควรแสดงในตำแหน่งที่เห็นเด่นชัดทุกๆ หน้า มันควรทรงพลังเพียงพอที่จะรองรับคำค้นหาที่หลากหลายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม และอนุญาตให้ผู้ใช้กรองผลลัพธ์การค้นหาได้  นอกจากนี้คุณควรแน่ใจว่าฟีเจอร์นำทางบนเว็บไซต์ของคุณฉลาดและเร็วพอ และดูแลหน้าเว็บของคุณให้รกรุงรังและมีป๊อบอัพน้อยที่สุด
  • การให้คะแนนและรีวิวสินค้า (53%) ฟีเจอร์เหล่านี้สำคัญมากสำหรับแบรนด์จากต่างประเทศที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคสหรัฐฯ อย่าลืมใส่รีวิวจากลูกค้าบนเว็บไซต์ของคุณเยอะๆ เพราะผู้บริโภคมีแนวโน้มจะเชื่อถือรีวิวจากลูกค้าตัวจริงมากกว่ารีวิวจากอินฟลูเอนเซอร์
  • กระบวนการเช็คเอาต์ที่สะดวกและรวดเร็ว (50%) เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วรึเปล่า คนที่เข้ามาใช้งานสามารถเช็คเอาต์ได้มั้ย แบบฟอร์มของคุณมีช่องกรอกข้อมูลน้อยที่สุดรึยัง ลูกค้าต้องการจ่ายค่าสินค้าโดยมีความยุ่งยากน้อยที่สุด ดังนั้นคุณต้องทำให้การเช็คเอาต์ขั้นสุดท้ายสั้นและง่าย

ปัจจัยด้านสมาร์ทโฟน

การค้าผ่านมือถือกำลังแซงหน้าคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในหมู่นักช้อปออนไลน์ชาวสหรัฐฯ​ ดังนั้นจงดูให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณได้ออกแบบมาอย่างดีที่สุดสำหรับหน้าจอมือถือ

นักช้อปอเมริกันพึ่งพาช่องทางโซเชียลมีเดียในการค้นหาผลิตภัณฑ์อย่างมาก 84% ของนักช้อปออนไลน์เช็คคำแนะนำบนโซเชียลมีเดียอย่างน้อยหนึ่งช่องทางก่อนซื้อของออนไลน์ ดังนั้นโซเชียลมีเดียของคุณจึงควรเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การตลาดเวลาที่คุณขายของให้สหรัฐอเมริกา นี่เป็นวิธีที่ทำให้ “ลูกค้าที่ชอบเลื่อนผ่าน” สังเกตเห็นแบรนด์ของคุณ

เทรนด์การชำระเงิน

รู้หรือไม่ว่านักช้อปออนไลน์ 70% มีแนวโน้มจะสั่งซื้อสินค้าจนสำเร็จหากมีตัวเลือกการชำระเงินที่ชื่นชอบแสดงให้เห็นในขั้นตอนการเช็คเอาต์

ในปี 2563 วิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมที่สุดในหมู่นักช้อปออนไลน์ในสหรัฐฯ คือการชำระด้วยบัตรเครดิตและดิจิทัลวอลเล็ต (คิดเป็นสัดส่วน 30% ของธุรกรรมทางการเงิน) ตามด้วยบัตรเดบิต (21%) การมีตัวเลือกการชำระเงินเหล่านี้อยู่ในขั้นตอนการเช็คเอาต์จะทำให้มั่นใจว่าคุณไม่เสียผู้ซื้อจากสหรัฐฯ ไปในนาทีสุดท้าย

แสดงราคาทั้งหมดบนเว็บไซต์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ​ และอนุญาตให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าในสกุลเงินนั้นได้

การส่งสินค้า

Amazon Prime ได้สร้างมาตรฐานสูงลิ่วให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสหรัฐฯ ผู้บริโภคที่นั่นคุ้นเคยกับการได้รับสินค้าที่สั่งซื้ออย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ที่จริงแล้ว “ต้นทุนค่าขนส่ง” กับ “ระยะเวลาส่งสินค้า” คือสองเรื่องหลักที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ กังวลเวลาซื้อของจากผู้ขายในต่างประเทศ

การจับมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ระหว่างประเทศอย่าง DHL Express จะทำให้ลูกค้าในต่างประเทศของคุณมั่นใจว่าสินค้าจะถูกจัดส่งตรงเวลาและรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา DHL Express คือผู้นำระดับโลกที่เชี่ยวชาญในด้านอีคอมเมิร์ซ ผู้เชี่ยวชาญของเราสามารถช่วยหาโซลูชั่นที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้

ในการเสนอบริการส่งฟรีแก่ลูกค้า คุณต้องคำนวณดูว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายนั้นคุ้มกันกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาหรือไม่ คุณอาจลองให้บริการส่งฟรีกับออเดอร์ที่มียอดสั่งซื้อขั้นต่ำตามที่กำหนดก่อน เทคนิคนี้มักจะจูงใจให้ลูกค้าใช้จ่ายมากขึ้นในการซื้อแต่ละครั้ง แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจแบบใด คุณต้องแน่ใจว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งของคุณชัดเจนโปร่งใสตลอดทั้งเว็บไซต์ เพราะค่าธรรมเนียม “ซ่อนเร้น” เป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักช้อปออนไลน์ตัดสินใจทิ้งตะกร้าสินค้า

เทศกาลพิเศษ

Black Friday คืออภิมหาดีลสำหรับนักช้อปชาวสหรัฐฯ​ มันคือเทศกาลเซลส์กระหน่ำประจำปีซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนและสร้างยอดขายยิงยาวไปจนถึงคริสต์มาส นี่คือช่วงเวลาที่นักช้อปจำนวนมหาศาลมุ่งสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อหาสินค้าราคาประหยัดและส่วนลด คุณควรเตรียมกลยุทธ์การขายสำหรับเทศกาลแบล็คฟรายเดย์ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสินค้าในคลังเพียงพอเมื่อเวลาสำคัญมาถึง คลิกที่นี่ เพื่ออ่านกลยุทธ์สร้างยอดขายในเทศกาล Black Friday

ภาษีขาย

พิกัดอัตราภาษีสำหรับการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกาถูกกำหนดโดยรัฐแต่ละรัฐ กฎหมายของสหรัฐอเมริกากำหนดให้ธุรกิจต้องจ่ายภาษีขายหากธุรกิจนั้นมีการเชื่อมต่อที่เรียกว่า nexus กับรัฐใดรัฐหนึ่งใน 50 รัฐ การเชื่อมต่อนี้เป็นสิ่งยืนยันการมีตัวตนอย่างเป็นรูปธรรมหรือการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่

  • การมีสำนักงานหรือร้านค้าตั้งอยู่ในประเทศนั้น
  • การมีคลังสินค้าตั้งอยู่ในประเทศนั้น
  • การมียอดขายเกินกว่ายอดขายขั้นต่ำตามที่รัฐกำหนด

กฎเกณฑ์การเชื่อมต่อที่ทำให้ต้องจ่ายภาษีขายนี้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ถ้าคุณเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศที่ขายสินค้าให้สหรัฐอเมริกา คุณจำเป็นต้องมีธุรกิจในที่ที่คุณมี nexus อยู่

จากนั้นคุณต้องเริ่มเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อในรัฐนั้น ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องซับซ้อนถ้าคุณขายสินค้าให้หลายรัฐ คุณอาจพิจารณาใช้ความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ภายนอกซึ่งช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบและจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้อง

รายละเอียดการนำเข้า

ถ้าคุณกำลังนำสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ผ่านการรับรองของ DHL Express สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีและกฎเกณฑ์การค้าข้ามพรมแดนที่คุณต้องปฏิบัติตามได้ ต่อไปนี้คือตัวอย่างทั่วไป

  • ถ้าคุณส่งสินค้าไปอเมริกาโดยให้บริษัทอื่นรับหน้าที่จัดการต่อ (เช่น ขายสินค้าผ่านมาร์เก็ตเพลสอย่าง Amazon หรือ eBay) คุณไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่มีภูมิลำเนาอยู่ในสหรัฐฯ​
  • อีกตัวเลือกหนึ่งคือคุณสามารถใช้ศูนย์กระจายสินค้าในท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็น “ฐานที่ตั้งสำนักงาน” เพื่อขนส่งสินค้าและบริหารจัดการสินค้าที่ตีกลับจากลูกค้าในสหรัฐฯ​ ได้ อเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล การเลือกฐานที่ตั้งที่มีทำเลใกล้กับลูกค้าหลักของคุณจะช่วยให้มั่นใจว่าสินค้าของคุณถูกจัดส่งอย่างรวดเร็ว
  • มื่อส่งสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้า เป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณต้องจ่ายค่าภาษีอากรทั้งหมดให้ถูกต้อง มิฉะนั้นศูนย์กระจายสินค้าอาจปฏิเสธไม่ส่งสินค้าให้คุณได้ และถ้าเป็นการขนส่งทางอากาศ คุณต้องแน่ใจว่าสินค้าของคุณจ่ายภาษี Delivery Duty Paid เรียบร้อย ซึ่ง DHL Express สามารถจัดการเรื่องนี้ให้คุณได้
  • สินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ​ เป็นชิปเม้นต์ที่ได้รับการยกเว้นภาษี ชิปเม้นต์เหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษีเมื่อนำเข้าสหรัฐอเมริกา แต่สินค้าที่มีมูลค่าระหว่าง 800-2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ​ ต้องเสียภาษีนำเข้า

พร้อมเริ่มต้นการผจญภัยของคุณในอเมริกาแล้วหรือยัง ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นอะไร ผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ระหว่างประเทศของเราพร้อมช่วยคุณบุกตลาดที่ยิ่งใหญ่แบบมีอุปสรรคน้อยที่สุด เริ่มต้นการเดินทางของคุณไปพร้อมกับเราวันนี้!