#คําแนะนําสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก

6 วิธีเอาชนะอุปสรรคในการขยายตลาดไปต่างประเทศ

facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share

คุณกำลังหาวิธีขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซอยู่รึเปล่า? ถ้าใช่ การขยายตลาดไปต่างประเทศอาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ แต่ก็ยังมีความท้าทายบางอย่างที่คุณจะต้องเจอ และต่อไปนี้คือวิธีเอาชนะอุปสรรคนั้น..

ต้องขอบคุณการเกิดขึ้นของบริการส่งของไปต่างประเทศ เพราะไม่มีครั้งไหนเลยที่ธุรกิจออนไลน์จะเปิดประตู (ดิจิทัล) สู่โลกกว้างได้ง่ายขนาดนี้ และข่าวดีก็คือตลาดข้างนอกนั้นยังมีผู้บริโภคจำนวนมากที่อยากลองและซื้อหาแบรนด์ใหม่ๆ จากต่างประเทศอยู่

งานวิจัยล่าสุดพบว่า 57% ของนักช้อปออนไลน์ซื้อสินค้าจากบริษัทต่างประเทศอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนตุลาคม 2564 ในขณะที่ปีนี้ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนกินสัดส่วนถึง 22% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซโลกทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2559

แต่ก่อนที่คุณจะรีบขึ้นป้ายตัวโตๆ บนเว็บไซต์ว่า “เราส่งของทั่วโลก” คุณจำเป็นต้องรู้จักอุปสรรคเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศก่อน ตัวอย่างเช่น คุณต้องจัดการกับปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการส่งของไปต่างประเทศก่อนถ้าคุณและลูกค้าต้องการประสบการณ์การซื้อขายที่ราบรื่น ในโลกที่กว้างใหญ่และหลากหลายซึ่งผู้คนใช้ภาษาแตกต่างกัน และมีความไม่เข้าใจทางวัฒนธรรม แทบจะแน่ใจได้เลยว่ายังไงๆ ซะ คุณก็ต้องเจอความท้าทายแน่

การพยายามหาวิธีขายของให้ตลาดต่างประเทศนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่การตระหนักถึงหลุมพรางและรู้วิธีก้าวข้ามหลุมพรางเหล่านั้นคือกุญแจสู่ความสำเร็จในธุรกิจ ในบทความนี้ DHL Express  จะมาบอกคุณว่าหลุมพรางหรือกับดักต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศของคุณมีอะไรบ้าง อยากรู้แล้วไปอ่านกันเลย!

1. เลือกแพลตฟอร์มการขายผิด

 การเลือกโลเคชั่นที่ถูกต้องสำคัญสำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้านฉันใด การเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสำหรับขายของข้ามประเทศก็สำคัญสำหรับการพัฒนาธุรกิจของคุณฉันนั้น ระบบอีคอมเมิร์ซแบบเดิมๆ ที่ใช้งานมายาวนาน โดยเฉพาะที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยคุณก่อตั้งธุรกิจใหม่ๆ ถึงตอนนี้อาจกลายเป็นก้างชิ้นโตที่ขัดขวางการเติบโตทางธุรกิจของคุณก็ได้ ขณะที่คุณกำลังขยายธุรกิจสู่ตลาดและประเทศใหม่ๆ นั้น คุณอาจพบว่าปัญหาเกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่คุณใช้เริ่มกองสุมเป็นภูเขา เช่น จัดการสกุลเงินที่แตกต่างกันได้ยากลำบาก ต้องพึ่งพาแอปภายนอกสำหรับการทำงานง่ายๆ มากขึ้นเรื่อยๆ หรือระบบไม่รองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง แชทบอท หรือปัญญาประดิษฐ์​ (AI) เป็นต้น

สิ่งที่คุณทำได้

  • เตรียมพร้อมทำการบ้านของคุณ ตลาดบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นตลาดที่มีผู้ใช้หนาแน่น เว็บชื่อคุ้นหูอย่าง Shopify, Magento, BigCommerce และ WooCommerce เป็นเพียงผู้เล่นหลักไม่กี่รายเท่านั้น ลองทำรายการฟีเจอร์ “ของมันต้องมี” ที่คุณอยากได้บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซออกมา ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง ความยืดหยุ่น ความสามารถในการขยายขนาดธุรกิจ และราคา วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถกรองแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เหมาะกับความต้องการของคุณที่สุดออกมาได้
  • ลองพิจารณาตลาดออนไลน์ดู บางประเทศมีกฎเกณฑ์ซับซ้อนสำหรับผู้ค้าต่างชาติที่ต้องการขายของให้ผู้บริโภคในประเทศนั้น ซึ่งการขายสินค้าบนตลาดนั้นอาจเป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น Tmall Global ของจีน ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับแบรนด์ต่างชาติโดยเฉพาะ คุณไม่จำเป็นต้องมีบริษัทเป็นตัวเป็นตนในประเทศจีน หรือมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพื่อจะขายบนแพลตฟอร์มนี้ นอกจากนั้น คุณยังสามารถรับชำระเงินเป็นสกุลเงินในประเทศของตัวเองได้ด้วย เพียงแค่ต้องดูว่าแต่จะแพลตฟอร์มคิดค่าธรรมเนียมเท่าไหร่

2. เลือกตลาดผิด

มีตลาดให้คุณเลือกมากกว่า 220 ประเทศทั่วโลก แต่ไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะเหมาะกับธุรกิจของคุณ การเร่งขยายธุรกิจเร็วเกินไปอาจกลายเป็นความผิดพลาดที่ทำให้เสียเงินฟรี เพราะกว่าจะรู้ คุณก็เผลอลงทุนสร้างเว็บไซต์ให้เข้ากับตลาดที่กำลังจะขาย ซึ่งจริงๆ แล้วแทบไม่มีใครสนใจสินค้าของคุณเลย

สิ่งที่คุณทำได้

  •  ศึกษา ศึกษา และศึกษา พยายามศึกษาข้อมูลว่าสินค้าอะไรที่กำลังนำตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศที่คุณอยากขาย (กูเกิลได้ไม่ยาก) ลองดูร้านค้าปลีกออนไลน์เจ้าใหญ่ในประเทศนั้นดูก็ได้ว่าพวกเขากำลังขายอะไร ราคาเท่าไหร่ และทำตลาดยังไงบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ควรเช็กดูคู่แข่งของคุณด้วยว่าพวกเขาขายของให้ประเทศไหนบ้าง เพราะที่ไหนที่คู่แข่งของคุณขาย ก็แสดงว่าที่นั่นมีคนต้องการสินค้าแบบเดียวกับของคุณอยู่ 

3. ไม่เข้าใจตลาดเป้าหมาย

น่าเสียดายที่กลยุทธ์การขายในประเทศที่คุณได้ทดสอบมาแล้วไม่สามารถ “ก๊อปไปใช้ทั้งดุ้น” กับตลาดต่างประเทศได้ พฤติกรรมการช้อปของผู้บริโภคนั้นหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ นักช้อปในอิตาลีอาจมีความคาดหวังและความชอบไม่เหมือนกับนักช้อปในอินเดีย และถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ออกแบบมาเพื่อตลาดนั้น คุณก็จะพลาดโอกาสการขายอย่างมหาศาล

การปรับแต่ง (customization) กินความหมายกว้างกว่าแค่การแปลเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้เป็นภาษาท้องถิ่น คุณควรพิจารณาสิ่งอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ผู้บริโภคที่นั่นชื่นชอบการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือแอปมือถือมากกว่ากัน ธุรกิจของคุณสามารถใช้ช่องทางนั้นได้หรือไม่ แล้วที่ไหนที่คุณควรทำตลาดกับกลุ่มคนที่น่าจะเป็นลูกค้า เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรือผู้บริโภคชื่นชอบการสื่อสารผ่านแมสเซนเจอร์แอปมากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ต่างๆ ที่คุณอาจนึกไม่ถึงอีก เช่น ในประเทศจีน ไลฟ์สตรีมมิ่งคือหัวใจสำคัญของการขายออนไลน์ ถ้าไม่รู้สิ่งเหล่านี้ คุณจะได้ประโยชน์สูงสุดจากกลยุทธ์การขายได้ยังไง

สิ่งที่คุณทำได้

  • คิดในระดับโลก แต่ทำในระดับท้องถิ่น คุณอาจมีความปรารถนายิ่งใหญ่ที่อยากให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณก้าวสู่ระดับโลก แต่คุณยังต้องปฏิบัติต่อแต่ละประเทศเป้าหมายในฐานะลูกค้าที่มีพฤติกรรมการช้อปและความชอบแตกต่างกัน
  • DHLได้เตรียมคู่มือสุดเอ็กซ์คลูซีฟเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ไว้ให้คุณใช้ฟรี อัดแน่นด้วยข้อมูลอินไซต์ที่จะทำให้การเข้าถึงและขายของให้ผู้บริโภคในแต่ละประเทศประสบความสำเร็จ นับตั้งแต่ประเภทของสินค้ายอดนิยมบนอีคอมเมิร์ซ จนถึงตัวเลือกการส่งของชั้นนำ หรือคู่มือส่งของไปอเมริกา ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบ ดัดแปลง และปรับแต่งสิ่งที่นำเสนอให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคได้

4. ไม่มีวิธีการชำระเงินที่เหมาะสม

นักช้อปออนไลน์มีแนวโน้มจะทำรายการสั่งซื้อสินค้าจนสำเร็จถ้ามีวิธีการชำระเงินที่คุ้นเคยแสดงให้เห็น แต่แน่นอนว่าวิธีชำระเงินที่ลูกค้าคุ้นเคยย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คุณอาจแปลกใจถ้าได้รู้ว่าในบางที่ การเก็บเงินปลายทางยังเป็นวิธีการยอดนิยมอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ผู้ขายจากต่างประเทศต้องทำความเข้าใจ นอกจากนี้คุณควรพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ อย่าง “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” ดิจิทัลวอลเล็ต และการชำระเงินผ่านแมสเซนเจอร์แอปด้วย

สิ่งที่คุณทำได้

  • ศึกษาวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศ ศึกษาว่าวิธีการชำระเงินแบบใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศเป้าหมายของคุณ แล้วรวมวิธีการนั้นไว้ในขั้นตอนการเช็คเอาท์ ถ้าจะให้ดีควรเตรียมวิธีการชำระเงินไว้สัก 3-4 วิธีขึ้นไป เพราะผู้บริโภคชอบให้มีตัวเลือก
  • จับมือกับผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศที่ไว้ใจได้ และรองรับธุรกรรมทางการเงินในสกุลเงินที่หลากหลาย เช่น WorldPay, PayPal หรือ Stripe ยิ่งคุณค้าขายข้ามพรมแดนมากเท่าไหร่ การพาร์ทเนอร์กันก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น
  • แสดงราคาทั้งหมดบนเว็บไซต์ในรูปสกุลเงินท้องถิ่น และยอมให้ลูกค้าทำธุรกรรมในสกุลเงินนั้นได้ด้วย
  • ระวังมิจฉาชีพออนไลน์ ศึกษาว่าที่ไหนคือแหล่งต้มตุ๋นและวิธีการต้มตุ๋นที่มิจฉาชีพชอบใช้มากที่สุด ถ้าเมื่อไหร่ที่เรดาร์ตรวจจับนักต้มตุ๋นของคุณกระดิก อย่าลังเลที่จะขอให้ลูกค้าโอนเงินก่อนส่งสินค้าให้

5. ส่งของได้ไม่เร็วพอ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista บอกว่า 66% ของผู้บริโภคทั่วโลกเชื่อว่าเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ของที่ซื้อจะมาถึงช้ากว่าที่สัญญาไว้ โชคร้ายที่ความเชื่อดังกล่าวเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ผู้บริโภคต่างชาติซื้อสินค้าจากคุณ

สิ่งที่คุณทำได้

  • ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ระดับโลก DHL Express ช่วยให้คุณรับสินค้าในที่ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว บริการส่งของไปต่างประเทศของเรามีตัวเลือกการจัดส่งตามช่วงเวลา ซึ่งการันตีว่าสินค้าจะไปถึงจุดหมายปลายทางก่อน 9.00 น. / 10.30 น. / 12.00 น. ของวันถัดไป (บริการนี้มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้น) เมื่อส่งของไปต่างประเทศกับเรา ลูกค้าของคุณสามารถตรวจติดตามพัสดุและได้รับการแจ้งเตือนอย่างละเอียด ซึ่งทำให้ลูกค้าเห็นสถานะของพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเจ้าหน้าที่คูเรียร์ของ DHL มารับของที่หน้าประตูบ้านเลยทีเดียว สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของคุณคลายกังวล และธุรกิจของคุณยังจะได้คะแนนพิเศษ​จากลูกค้าด้วย
  • ทิปไม่ลับอย่างหนึ่งก็คือคุณต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณคิดค่าบริการส่งของไปต่างประเทศอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมาตลอดทั้งเว็บไซต์ ลูกค้าไม่ชอบเซอร์ไพรส์เรื่องค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม และที่จริงแล้วค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนี่เองคือเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าทิ้งตะกร้าสินค้าของคุณ

6. ไม่ทำตามกฎศุลกากร

การส่งของไปต่างประเทศมีเรื่องเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย แต่ละประเทศต่างมีกฎเกณฑ์การนำเข้าและระเบียบศุลกากรแตกต่างกัน รวมถึงภาษีและอากร ต้นทุนแฝง และรายการสินค้าต้องห้าม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องชวนเครียดเวลาส่งของไปต่างประเทศและต้องใช้เวลาในการศึกษา โดยเฉพาะถ้าคุณต้องส่งของไปหลายประเทศ แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ ถ้าคุณลืมยื่นเอกสารที่จำเป็นบางรายการ หรือกรอกข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง ศุลกากรอาจกักชิปเม้นต์ของคุณไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ปลื้มเอาซะเลย

สิ่งที่คุณทำได้

  • พาร์ทเนอร์มืออาชีพ ผู้ช่วยส่งของไปต่างประเทศอย่าง DHL Express สามารถสะสางปัญหาน่าปวดหัวเหล่านี้ให้คุณได้ ด้วยออฟฟิศในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก แทบไม่มีตลาดไหนที่เราช่วยให้คุณเข้าถึงไม่ได้ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากรที่คอยจัดการเรื่องยุ่งยากให้ ลูกค้าของเราหลากหลายตั้งแต่ผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ จนถึงสตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กที่บริหารธุรกิจจากในห้องนอน ดังนั้นจึงไม่มีชิปเม้นต์ใดใหญ่เกินไป เล็กเกินไป หรือแปลกประหลาดเกินไปสำหรับการส่งของไปต่างประเทศกับเรา

ติดตามอ่านเคล็ดลับการส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่นสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศได้ที่นี่ เราจะช่วยคุณวางกลยุทธ์แบรนด์ ทิปที่ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณเติบโต และคำแนะนำในการส่งของไปต่างประเทศที่ได้ใจลูกค้า